- This event has passed.
Magha Puja Day Ceremony 2018
February 6, 2018 - February 7, 2018
Magha puja day is considered one of the most important Buddhist celebrations. It refers to the worship that takes place on the full moon of the third lunar month (about the last week of February or early March) to commemorate the day on which Lord Buddha recited the “Ovadha Patimokkha” (the Fundamental Teaching) to his disciples.
[tabs_framed]
[tab title=”Enlish Version”]Magha puja day is considered one of the most important Buddhist celebrations. It refers to the worship that takes place on the full moon of the third lunar month (about the last week of February or early March) to commemorate the day on which Lord Buddha recited the “Ovadha Patimokkha” (the Fundamental Teaching) to his disciples.
This day marks the great four events that took place during Lord Buddha’s lifetime, namely:
- The Time of the Full Moon in the Third lLnar month when 1,250 Buddhist monks from differents places came to pay homage to the Lord Buddha at Veluwan Temple in Rajgaha City of Magaha State, without any appointment.
- All of them were Arahants (enlightened monks) who had attained the Apinyas (Six Higher Knowledges).
- All of them had been individually ordained by Lord Buddha himself (Ehi Bhikkhu).
- Later, the Magha Puja ceremony was widely accepted and performed throughout the country.
The evening of that day, Lord Buddha gave the assembly a discourse “Ovadha Patimokkha”, laying down the principles of His Teachings to be followed by all Buddhists, summarized into three acts, i.e. to do good, to abstain from bad action and to purify the mind.
Magha Puja Day was never celebrated in Thai kingdom. King Chulalongkorn (Rama V) explained that “..the Magha Puja was never performed, the ceremony has just been practised during the reign of King Mongkrut (Rama IV) of the Chakri Dynasty”. Having realized the importance of this day, King Rama IV ordered the royal Magha Puja Ceremony to be performed in the Emerald Buddha Temple in 1851 and to celebrate it yearly.
Later the ceremony was widely accepted and performed throughout the kingdom. It was declared to be a public holiday back then so everybody could go to the temple to merit and perform other religious activities in the morning and to take part in the candlelit procession or “Wien Tien” in the evening.[/tab]
[tab title=”ไทย Version”]ต ร ง กั บ วั น ขึ้ น ๑ ๕ ค่ำ เ ดื อ น ๓
“มาฆะ” เป็นชื่อของเดือน ๓ มาฆบูชานั้น ย่อมาจากคำว่า”มาฆบุรณมี” แปลว่าการบูชาพระในวันเพ็ญ เดือน ๓ วันมาฆบูชาจึงตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีเดือน อธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันสำคัญวันหนึ่ง ในวันพุทธศาสนา คือวันที่มีการประชุมสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพุทธศาสนา ที่เรียกว่า “จาตุรงคสันนิบาต” และเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดง โอวาทปฎิโมกข์ แก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรก ณ เวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ เพื่อให้พระสงฆ์นำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะยังพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป
โอวาทปาฏิโมกข์
โอวาทปาฏิโมกข์ หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา หรือคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธพจน์ ๓ คาถากึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป ผู้ไปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ พระเวฬุ วนาราม ในวันเพ็ญเดือน ๓ ที่เราเรียกกันว่าวันมาฆบูชา (ถรรถกถากล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ นี้ แก่ที่ประชุมสงฆ์ตลอดมา เป็นเวลา ๒๐ พรรษา ก่อนที่จะโปรดให้สวดปาฏิโมกข์อย่างปัจจุบันนี้แทนต่อมา), คาถา โอวาทปาฏิโมกข์ มีดังนี้ (โอวาทปาติโมกข์ ก็เขียน)
สพฺพปาปสฺส อกรณํกุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํเอตํ พุทธาน สาสนํฯ
ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ
อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ
แปล : การไม่ทำความชั่วทั้งปวง, การบำเพ็ญแต่ความดี, การทำจิตของตนให้ผ่องใส นี้เป็นคำสอนของ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง, พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่านิพพาน เป็นบรมธรรม, ผู้ทำร้ายคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต,ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ การไม่กล่าวร้าย, การไม่ทำร้าย, ความสำรวมในปาฏิโมกข์, ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร, ที่นั่งนอนอันสงัด, ความเพียรในอธิจิต นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่เข้าใจกันโดยทั่วไป และจำกันได้มาก ก็คือ ความในคาถาแรกที่ว่า ไม่ทำชั่ว ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ผ่องใส
คำว่า “จาตุรงคสันนิบาต” แยกศัพท์ได้ดังนี้ คือ “จาตุร” แปลว่า ๔ “องค์” แปลว่า ส่วน “สันนิบาต” แปลว่า ประชุม ฉะนั้นจาตุรงคสันนิบาตจึงหมายความว่า “การประชุมด้วยองค์ ๔” กล่าวคือมีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกันในวันนี้ คือ
๑. เป็นวันที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหารในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย
๒. พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจาก พระพุทธเจ้าทั้งสิ้น
๓. พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผุ้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุก ๆองค์
๔. เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ์
การปฎิบัติตนสำหรับพุทธศาสนาในวันนี้ก็คือ การทำบุญ ตักบาตรในตอนเช้า หรือไม่ก็จัดหาอาหารคาวหวานไปทำบุญฟังเทศน์ที่วัด ตอนบ่ายฟังพระแสดงพระธรรมเทศนา ในตอนกลางคืน จะพากันนำดอกไม้ ธูปเทียน ไปที่วัดเพื่อชุมนุมกันทำพิธีเวียนเทียน รอบพระอุโบสถ พร้อมกับพระภิกษุสงฆ์โดยเจ้าอาวาสจะนำว่า นะโม ๓ จบ จากนั้นกล่าวคำ ถวาย ดอกไม้ธูปเทียน ทุกคนว่าตาม จบแล้วเดิน เวียนขวา ตลอดเวลาให้ระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ จนครบ ๓ รอบ แล้วนำดอกไม้ ธูปเทียนไปปักบูชาตามที่ทางวัด เตรียมไว้ เป็นอันเสร็จพิธี [/tab]
[tab title=”ขอเชิญร่วมทำบุญ”]มาฆบูชา เป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า เป็นวันเกิดพระธรรม ถือว่าเป็นวันที่ พระพุทธเจ้า ได้ประกาศ หลักธรรม คำสั่งสอนของพระองค์ เพื่อให้พระอรหันต์ทั้งหลาย ที่มาประชุมกันในวันนั้น นำไปเผยแผ่
“วันมาฆบูชา” เป็นวันบูชาพิเศษที่ต้องทำในวันเพ็ญเดือนมาฆะ หรือในวันที่พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ซึ่งโดย ปกติทำกันในกลางเดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ เดือนแปดสองแปด ก็เลื่อนไปกลางเดือน ๔ ) ถือกันว่าเป็นวันสำคัญ เพราะวันนี้ เป็นวันคล้ายกับ วันประชุมกันเป็นพิเศษ แห่งพระอรหันตสาวก โดยมิได้มีการนัดหมาย ซึ่งเรียกว่า วันจาตุรงคสันนิบาต ซึ่งได้มีขึ้น ณ บริเวณเวฬุวันมหาวิหาร หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้เป็นเวลานับได้ ๙ เดือน
วันนี้เอง ที่พระพุทธองค์แสดง “โอวาทปาฎิโมกข์” ซึ่งถือกันว่า เป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจ ของพระพุทธศาสนา
จาตุรงคสันนิบาต คือ การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ คือ:-
๑. วันนั้น เป็นวันมาฆปูรณมี คือวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำกลางเดือนมาฆะ จึงเรียกว่า มาฆบูชา
๒. พระภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย (สาเหตุของการชุมนุม)
๓. พระภิกษุทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ ประเภทฉฬภิญญา คือ ได้อภิญญา ๖
๔. พระภิกษุ เหล่านั้น ทั้งหมด ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง (เอหิภิกฺขุอุปสมฺปทา)
เมื่อวันสำคัญเช่นนี้เวียนมาถึงเพื่อให้พุทธศาสนิกชนร่วมกันบำเพ็ญมหากุศลในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วัดนวมินทรราชูทิศ นครเคมบริดจ์-บอสตัน จึงได้จัดงานขึ้น โดยมีกำหนดการดังนี้
กำหนดการปฏิบัติธรรม
เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และถวายเป็นพระราชกุศล
พระบาทสมเด็จปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในพระบรมโกศ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
และพิธีทำบุญ เนื่องในเทศกาลวันมาฆบูชา
วันเสาร์ – อาทิตย์ที่ ๒๔ – ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๑
ณ วัดนวมินทรราชูทิศ เฉลิมพระเกียรติ นครเคมบริดจ์-บอสตัน
———————-
ศุกร์ – วันเสาร์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๑
เวลา ๐๖.๐๐ น. ทำวัตรเช้า / เจริญจิตภาวนา
เวลา ๐๗.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์
เวลา ๐๘.๓๐ น. – ๑๐.๓๐ น. ปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นพุทธบูชา
เวลา ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ / สาธุชนผู้ปฏิบัติธรรมรับประทานอาหารร่วมกัน
เวลา ๑๓.๐๐ น. – ๑๖.๐๐ น. ปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นพุทธบูชา
เวลา ๑๘.๐๐ น.- ๒๐.๐๐ น. ทำวัตรเย็น เจริญพระพุทธมนต์
เวลา ๒๑.๐๐ น. พักผ่อนอิริยาบถ
วันอาทิตย์ที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๑
เวลา ๐๖.๐๐ น. ทำวัตรเช้า / เจริญจิตภาวนา
เวลา ๐๗.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์
เวลา ๐๙.๐๐ น. ตั้งกองบุญผ้าป่าถวายเป็นพุทธบูชา เนื่องในวันมาฆบูชา
เวลา ๑๐.๑๕ น. พิธีทำบุญเนื่องในวันมาฆบูชา
– สาธุชนพร้อมเพียงกัน ณ อาคารมหาวชิราลงกรณ
– ประธานพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
– ศาสนพิธีกรกล่าวนำคำบูชาพระรัตนตรัย
– พุทธศาสนิกชน กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย
– ศาสนพิธีกรกล่าวนำอาราธนาศีล
– ประธานสงฆ์ประทานศีล จบแล้ว
– ศาสนพิธีกรกล่าวอาราธนาพระปริตร
– พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เสร็จแล้ว
– ศาสนพิธีกร กล่าวนำคำถวายอาหารบิณฑบาตร ภัตตาหาร
– ศาสนพิธีกรกล่าวนำคำถวายอาหารบิณฑบาตร
– ถ่ายภาพหมู่พร้อมเพรียงกัน เสร็จแล้ว
– สาธุชนเรียงแถวเตรียมความพร้อมเพรียงทำบุญตักบาตร
– พระสงฆ์ออกรับบิณฑบาตร
เวลา ๑๑.๑๕ น. ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ / สาธุชนรับประทานอาหารร่วมกัน
– ชมการแสดงเหล่านักเรียนโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
เวลา ๑๒.๓๐ น. พิธีบุญเจริญจิตภาวนา ฟังธรรมเทศนา เวียนเทียนเนื่องในวันมาฆบูชา
– สาธุชนพร้อมเพรียงกัน ณ อาคารมหาวชิราลงกรณ
– ประธานพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
– ศาสนพิธีกรกล่าวนำอาราธนาธรรม
– แสดงพระธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์ จบแล้ว
– ประธานพิธีพร้อมสาธุชน ถวายกัณฑ์เทศน์ แด่องค์แสดงพระธรรมเทศนา
– ถวายผ้าป่า ไทยธรรมแด่พระสงฆ์
– ประธานสงฆ์กล่าวนำอนุโมทนาวิธี
– พระสงฆ์กระทำอนุโมทนาวิธี
– สาธุชนกรวดน้ำรับพร
– พุทธศาสนิกชนรับประทีปด้าม แล้วจุดเทียนธูป
– ประธานสงฆ์กล่าวนำคำบูชาดอกไม้ธูปเทียนเนื่องในวันมาฆบูชา
– พระสงฆ์ สาธุชนกล่าวตามคำนำบูชาดอกไม้ธูปเทียน
– ทำการปทักษิณา ๓ รอบ ณ อาคารอุโบสถ
– นำประทีปด้ามไปปักไว้ ณ ที่จัดไว้
– ถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน เป็นเสร็จพิธี.
หมายเหตุ กำหนดการนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
/tab]
[tab title=”PROGRAM”]
Wat Nawamintararachutis (NMR Meditation Center)
provides the opportunity for you to come and join the ceremony as a part of the annual celebration for the cultivation of meritorious deeds.
ON MAGHA PUJA DAY 2018 – SUNDAY, February 25,2018
AT 382 South St. E., Raynham MA 02767-5130 Phone : 508-823-1800,508-823-5069 Fax : 508-823-1775
www.watnawamin.org. E-mail : watnawmin2545@yahoo.com
———————-
09:00 a.m. Homage to the Lord Buddha
All guests are welcome to pay homage to Somdetphranawamintarasasda and Congregation prepares
10:15 a.m. Homage to the Triple Gem
President of ceremonies lights candles and joss sticks in honor of the Buddha,the Dharma and the Sangha
and leads the congregation in requesting the Five Precepts from the Sangha.
Head monk gives and congregation receives the Five Precepts.
President asks the Sangha for blessings. The Sangha blesses the congregation.
10:30 a.m. Offering of alms (tahk baht) to the monks
11:20 a.m. Offering lunch for monks / Congregation also partakes of lunch.
11.30 a.m. Entertainment with Thai Cassical music, Dance by Sunday School of Wat Nawamintararachutis
12:00 a.m. Sermon on the Dharma
Congregation collects offerings in appreciation of the sermon and presents the collection, the Papah, and alms to the monks.
12:30 p.m Dhammadesana(Dhamma Talk presented in Thai by a monk).
Offering Ceremony of flowers, candles and incense in connection with Magha Puja
Pamsukula (dedication of merit to the ancestors)
1:30 p.m. Homage and conclusion of ceremonies
Head monk blesses the congregation. The other monks join in extending the blessings. The congregation
receives the blessings. Words of thanks from the president of the ceremony.
Congregation assembles for a group photograph.
We hope that your schedule permits you to join our temple on this special service occasion.
On behalf of the Boad of Watnawamintararachutis
DONATION : To make donations contributing to this Account Number 004 3532 6986 pay to the order of Wat Nawamintararachutis
We appriciate your kindly donation
Wat Nawamintararachutis (The NMR Buddhist Meditation Center)
382 South Street East, Raynham, MA 02767-5130
Phone : 508-823-1800, 508-823-5069, Fax : 508-823-1775
Web site : www.watnawamin.org E-mail : watnawamin2545@yahoo.com
[/tab]
[/tabs_framed]